คุณกำลังมองหาอะไร?

 

สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย

แบบฟอร์มรายงานตัวชี้วัดที่ 2.4 ระดับความพร้อมรัฐบาลดิจิทัลของหน่วยงานในสังกัดกรมอนามัย

รายงานตัวชี้วัดที่ 2.4 ระดับความพร้อมรัฐบาลดิจิทัลของหน่วยงานในสังกัดกรมอนามัย ให้หน่วยงานดำเนินการตามองค์ประกอบข้อมูลที่กำหนด พร้อมทั้งระบุ URL ดังนี้

   ระดับที่ 1  Data Catalog ระบบบัญชีข้อมูลภาครัฐของกรมอนามัย

   ระดับที่ 2  Personal Data Protection Act : PDPA หน่วยงานมีการดำเนินการตาม พรบ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
 พ.ศ. 2562 ตามเกณฑ์ที่กำหนด

   ระดับที่ 3  Management Information system: MIS ระบบข้อมูลสำหรับสนับสนุนการตัดสินใจของผู้บริหารที่เป็น รูปแบบดิจิทัล

   ระดับที่ 4  การใช้เทคโนโลยีในกระบวนการทำงาน

 ลิงค์ดาวน์โหลเอกสาร   :  https://pdpa.anamai.moph.go.th/th/kpi

หมายเหตุ : รายงานผลการดำเนินงาน รอบที่ 1 : 5 เดือนแรก (ตุลาคม 2567 - กุมภาพันธ์ 2568)

               คิดผลการดำเนินงานตัวชี้วัดโดยนำรายงานผลตามแบบฟอร์มฯ ไปแนบในระบบ DOC ภายในวันที 10 มีนาคม 2568

     ในหัวข้อ “รายการข้อมูลที่ใช้”

ข้อมูล องค์ประกอบด้านข้อมุล แนบหลักฐาน URL Link
ระดับที่ 1 Data Catalog
   1.1 มีรายชื่อชุดข้อมูลของหน่วยงานไม่น้อยกว่า 1 ชุดข้อมูล อยู่ในระบบบัญชีข้อมูลภาครัฐของกรมอนามัย (Anamai Data Catalog)
   1.2 ชุดข้อมูลเดิมทั้งหมดมีความเป็นปัจจุบัน ตามรอบระยะเวลาของการปรับปรุงข้อมูลนั้น

แสดงรายชื่อชุดข้อมูล (Data Set)
ไม่น้อยกว่า 1 ชุดข้อมูล ในระบบบัญชีข้อมูลภาครัฐของกรมอนามัย (Anamai Data Catalog) เป็นปัจจุบันตามรอบระยะเวลาของการปรับปรุงข้อมูลและระบุวันที่ให้เป็นปัจจุบัน
URL:

ระดับที่ 2 Personal Data Protection Act: PDPA มีการจัดทำรายงานการดำเนินการตามเกณฑ์ที่กำหนด หน่วยงานมีการดำเนินการตาม พรบ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 ไม่น้อยกว่า 1 ระบบ ดังนี้
   2.1 แสดงข้อมูลรายการแจ้งรายละเอียดการเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลให้เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลทราบประกาศความเป็นส่วนตัว (Privacy Notice)
(ม.23 และม.25)
   2.2 แสดงข้อมูลการเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคล การใช้ หรือการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลให้สอดคล้องกับฐานกฎหมายการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล
(ม.24, 26, 27)
   2.3 แสดงข้อมูลการจัดทำบันทึกรายการของผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล (ม.39)
   2.4 แสดงข้อมูลการจัดให้มีระบบ หรือช่องทางตรวจสอบเพื่อลบหรือทำลายข้อมูลส่วนบุคคลเมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาเก็บรักษา (ม.37(3))
   2.5 แสดงข้อมูลการจัดให้มีข้อตกลงระหว่างผู้ควบคุมข้อมูล
ส่วนบุคคลและผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล (ม.40)

URL:
ระดับที่ 3 Management Information system: MIS มีระบบข้อมูลสำหรับสนับสนุนการตัดสินใจของผู้บริหารที่เป็นรูปแบบดิจิทัล อย่างน้อย 1 ระบบ หน่วยงานมีระบบข้อมูลสำหรับสนับสนุนการตัดสินใจของผู้บริหารที่เป็นรูปแบบดิจิทัล
   o แสดงข้อมูลหน่วยงานส่วนกลาง มีระบบข้อมูลในรูปแบบออนไลน์ เช่น Looker Studio, Power Bi, Tableauเป็นต้น ที่เชื่อมโยงกับระบบงานของหน่วยงานภายใน และภายนอก อย่างน้อย 1 ระบบ 
   o แสดงข้อมูลหน่วยงานส่วนภูมิภาค มีระบบข้อมูลในรูปแบบ Web Application อย่างน้อย 1 ระบบที่เชื่อมโยงกับระบบงานของหน่วยงานภายใน และภายนอก

URL:
ระดับที่ 4 มีการใช้เทคโนโลยีในกระบวนการทำงาน หน่วยงานมีการใช้เทคโนโลยีในกระบวนการทำงานอย่างน้อย 1 ด้าน
   o แสดงข้อมูลการดำเนินงาน
     1) ชื่อรูปแบบเทคโนโลยีที่นำมาใช้
     2) อธิบายการบวนการทำงาน

URL:

 

คำนิยามระดับความพร้อมรัฐบาลดิจิทัลของหน่วยงานในสังกัดกรมอนามัย

ลำดับ คำศัพท์ คำอธิบาย
1 รัฐบาลดิจิทัล หน่วยงานภาครัฐนำเอาเทคโนโลยีดิจิทัลมาปรับใช้ภายในหน่วยงาน เพิ่มการทำงานให้รวดเร็ว ก้าวทันเทคโนโลยี มีระบบการเชื่อมโยงการเข้าถึงข้อมูลระหว่างหน่วยงานเพิ่มความสะดวกรวดเร็วในการติดต่อหน่วยงานภาครัฐ

2 ชุดข้อมูล (Data Set) การนำข้อมูลจากหลายแหล่งมารวบรวม โดยที่ข้อมูลแต่ละแหล่งข้อมูลเป็นคนละหมวดหมู่หรือคนละประเภทกัน ซึ่งเป็นลักษณะการสรุปผล (Summary) หรือข้อมูลรายแถว (Row Data) ให้อยู่ในรูปแบบตารางข้อมูล (สำหรับข้อมูลที่มีโครงสร้าง)

3 บัญชีข้อมูล (Data Catalog) เอกสารแสดงรายการของชุดข้อมูล ซึ่งจำแนกแยกแยะโดยการจัดกลุ่มหรือจัดประเภทข้อมูลที่อยู่ในความครอบครองหรือควบคุมของหน่วยงานของรัฐ ผ่านคำอธิบายข้อมูลหรือเมทาดาตา (Mata Data) ของสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (สพร.)

4 คุณภาพชุดข้อมูลที่เป็น Machine readable format หมายถึง แนวทางการจัดเก็บข้อมูลที่สามารถนำไปใช้ประมวลผลด้วยคอมพิวเตอร์ได้ทันที โดยที่ไม่ต้องนำไปจัดเตรียมข้อมูลเพิ่มเติม

5 พรบ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 (PDPA) พรบ. ที่ตราขึ้นเพื่อให้ความคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของบุคคลธรรมดาให้สิทธิ์ในการแก้ไข เข้าถึง หรือแจ้งลบข้อมูลที่ให้ไว้กับองค์กรและกำหนดบทบาทหน้าที่ บทลงโทษ กรณีองค์กรไม่ปฏิบัติตาม

6 ข้อมูลส่วนบุคคล (Personal Data) ข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลที่ทำให้ระบุตัวบุคคลได้ ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม เช่น เลขประจำตัวประชาชน, ชื่อ-นามสกุล, ที่อยู่, อีเมล์, เลขโทรศัพท์ เป็นต้น

7 ประกาศความเป็นส่วนตัว (Privacy Notice) ประกาศการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลขององค์กรและระบุว่าการดำเนินการดังกล่าวสอดคล้องกับหลักการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลอย่างไร โดยหน้าที่ขององค์กร (ซึ่งมีฐานะเป็นผู้ควบคุมข้อมูล) ตามกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

8 บันทึกรายการของผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล (Records of Processing Activity: RoPA) การบันทึกรายการของกิจกรรมข้อมูลส่วนบุคคล ทั้งข้อมูลที่จัดเก็บในฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ข้อมูลเอกสารที่จับต้องได้ ข้อมูลส่วนบุคคลทั่วไป ข้อมูลส่วนบุคคลที่อ่อนไหว (Sensitive Personal Data) ทั้งในรูปแบบเอกสารเป็นลายลักษณ์อักษรและภาพรวมของขั้นตอนการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล

9 ข้อตกลงระหว่างผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลและผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล (Data Processing Agreement :DPA) สัญญาเกี่ยวกับการใช้หรือประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล เป็นเอกสารที่มีผลผูกพันทางกฎหมายซึ่งต้องทำขึ้นระหว่างผู้ควบคุมข้อมูล (Data Controller) กับผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล (Data Processor) เป็นลายลักษณ์อักษรหรือในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ โดยกำหนดขอบเขตและวัตถุประสงค์ของการประมวลผล

10 ปัญญาประดิษฐ์
Artificial Intelligence (AI)
เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ที่มีความสามารถในการคิด ตัดสินใจกระทำอย่างมีเหตุผล เองได้ เช่น การนำปัญญาประดิษฐ์มาช่วยในการทำงานภาครัฐ การวินิจฉัยโรค การตรวจสอบใบหน้า รวมถึงการตัดสินใจต่าง ๆ เป็นต้น
ตัวอย่าง
Generative AI (Chatbot ChatGPT) การใช้ AI สำหรับการแปลงเอกสารต่าง ๆ ในรูปแบบกระดาษ ให้อยู่ในรูปดิจิทัล เช่น การใช้ AI Generative ทำเอกสารนำเสนอ (Power Point) หรือ AI สำหรับการติดตามปัญหาการจราจรและอุบัติเหตุ

11 เทคโนโลยีหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ (Robotics) โปรแกรมที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อที่จะอำนวยความสะดวกในการตอบข้อความสนทนาตามที่ถูกกำหนดหรือตั้งค่าไว้
ตัวอย่าง
เครื่องจักรกลอัตโนมัติที่ออกแบบให้สามารถทำงานแทนมนุษย์ โดยทำงานด้วยคำสั่งเดิมซ้ำ ๆ ในรูปแบบที่มีความซับซ้อนและยืดหยุ่นได้ดี เช่น หุ่นยนต์อุตสาหกรรม (Industrial Robot) หรือ หุ่นยนต์บริการ (Service Robot)

12 เทคโนโลยี Blockchain เทคโนโลยีการจัดเก็บข้อมูลแบบ Shared Database หรือ Distributed Ledger Technology (DLT) โดยเป็นรูปแบบการบันทึกข้อมูลที่รับประกันความปลอดภัยว่าข้อมูลที่ถูกบันทึกไปก่อนหน้านั้นไม่สามารถที่จะเปลี่ยนแปลงหรือแก้ไข ซึ่งทุกผู้ใช้งานจะได้เห็นข้อมูลชุดเดียวกันทั้งหมดโดยใช้หลักการ Cryptography และความสามารถของ Distributed Computing เพื่อสร้างกลไกความน่าเชื่อถือ
ตัวอย่าง
การบริหารจัดการในการยืนยันตัวตน (Identity Management) ที่ช่วยให้ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลของตนเองได้อย่างปลอดภัยผ่านการใช้งานฐานข้อมูลของหน่วยงาน

13 เทคโนโลยีการสื่อสารและโทรคมนาคม 5G การสื่อสารรุ่นที่ 5 ของเทคโนโลยีเครือข่ายไร้สาย ทำให้มีการส่งข้อมูลได้เร็วยิ่งขึ้นอีกทั้ง 5G ไม่ได้จำกัดแค่มือถือเท่านั้น แต่รวมถึงอุปกรณ์ทุกชนิดที่เชื่อมอินเตอร์เน็ตได้ (Internet of Things หรือ IoT)
ตัวอย่าง การประชุมออนไลน์โดยใช้เทคโนโลยีการสื่อสารและโทรคมนาคม 5G หรือการนำเทคโนโลยีการสื่อสาร 5G มาใช้ภายในหน่วยงาน

  เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับ Internet of Things: IoT ในการเชื่อมต่อและการสื่อสาร การที่อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ สามารถเชื่อมโยงหรือส่งข้อมูลถึงกันได้ด้วยอินเทอร์เน็ต โดยไม่จำเป็นต้องป้อนข้อมูล และสามารถสั่งการควบคุมการใช้งานอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ ผ่านทางเครือข่ายอินเตอร์เน็ตได้ ไปจนถึงการเชื่อมโยงการใช้งานอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ ผ่านทางเครือข่ายอินเตอร์เน็ตเข้ากับการใช้งานอื่น ๆ
ตัวอย่าง การใช้เทคโนโลยี IoT เข้ามาอำนวยความสะดวกแทนการตรวจนับด้วยกำลังคน หรือ การใช้ Barcode หรือการใช้ IoT ผ่านการควบคุมโดรนสำรวจพื้นที่

  เทคโนโลยี Cloud Computing บริการที่ครอบคลุมถึงการให้ใช้กำลังประมวลผล หน่วยจัดเก็บข้อมูล และระบบออนไลน์ต่าง ๆ จากผู้ให้บริการ เพื่อลดความยุ่งยากในการติดตั้ง ดูแลระบบ ช่วยประหยัดเวลา และลดต้นทุนในการสร้างระบบคอมพิวเตอร์และเครือข่ายเอง ซึ่งมีทั้งแบบไม่เสียค่าบริการและเสียค่าบริการ
ตัวอย่าง การสำรองข้อมูลผ่าน Cloud Computing การใช้ซอฟต์แวร์ ระบบ และทรัพยากรของเครื่องคอมพิวเตอร์ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต

  เทคโนโลยีเพื่อยกระดับประสบการณ์
Metaverse, Virtual Reality (VR), Augmented Reality (AR)
ตัวอย่าง
เทคโนโลยี Metaverse , Virtual Reality (VR), Augmented Reality (AR) ศูนย์บริการภาครัฐเสมือน (Virtual Government Service Center) หรือ การนำเกมมาประยุกต์ใช้ในการให้บริการ (Gamification)

  การใช้โปรแกรมโดยภาษาคอมพิวเตอร์เพื่อทำการวิเคราะห์ข้อมูลปริมาณมาก (Big data) การใช้โปรแกรมโดยภาษาคอมพิวเตอร์เพื่อทำการวิเคราะห์ข้อมูลปริมาณมาก (Big data) หรือการวิเคราะห์ข้อมูลที่เฉพาะเจาะจงมากขึ้น ในลักษณะของการแสดงภาพข้อมูลปริมาณมาก (Data Visualization) หรือ จำลองสถานการณ์เพื่อบริหารจัดการการตัดสินใจ (Decision Intelligence)
ตัวอย่าง Python Stark, Power BI, Google Data Studio, Yonyx หรือ Tableau

14 เทคโนโลยีการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ แนวทางเชิงรุกในการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์โดยเน้นการตรวจสอบ ระบุประเมิน และจัดการภัยคุกคามและช่องโหว่ด้านไซเบอร์อย่างต่อเนื่อง
ตัวอย่าง ระบบการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์อย่างต่อเนื่อง Continuous Threat Exposure Management (CTEM) หรือ กระบวนการแปลงข้อมูลให้เป็นรหัสลับ (Encryption)

15 เทคโนโลยีซอฟต์แวร์ประยุกต์เฉพาะงาน เป็นซอฟต์แวร์ที่สร้างขึ้นเพื่อใช้ในธุรกิจเฉพาะ ตามแต่วัตถุประสงค์ของการนำไปใช้
ตัวอย่าง เทคโนโลยีภาพถ่ายดาวเทียม เทคโนโลยีโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ (Smart Grid) เทคโนโลยีการแพทย์ทางไกล (Telemedicine) ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) ระบบคำนวนภาษีของกรมศุลกากร และเทคโนโลยีอื่น ๆ ตามบริการหลักของหน่วยงาน