คุณกำลังมองหาอะไร?

 
สำนักทันตสาธารณสุข
วิสัยทัศน์
     เป็นองค์กรหลักของประเทศในการอภิบาล* ระบบส่งเสริมสุขภาพช่องปาก เพื่อประชาชนสุขภาพดี
     *การอภิบาล หมายถึง ปกป้อง คุ้มครอง ดูแล
 
พันธกิจ
  1. พัฒนา ผลักดัน และสนับสนุนให้เกิดนโยบาย/กฎหมายที่จำเป็น (Policy and Regulation Advocacy) ในด้านการส่งเสริมทันตสุขภาพของประเทศ
  2. การผลิต พัฒนาองค์ความรู้ และนวัตกรรม เพื่อการส่งเสริมทันตสุขภาพ
    • ที่มีคุณภาพและสอดคล้องกับวิถีชีวิตของคนไทย ตลอดจนเฝ้าระวัง (Surveillance)
    • สถานการณ์ทางทันตสุขภาพ
    • และปัจจัยแวดล้อมที่มีผลกระทบต่อสุขภาพช่องปาก
  3. เสริมสร้างศักยภาพบุคลากรทันตสาธารณสุขให้สามารถดำเนินการส่งเสริมทันตสุขภาพที่ดีและมีคุณภาพแก่ประชาชนโดยการถ่ายทอดองค์ความรู้ และ เทคโนโลยีด้านการส่งเสริมทันตสุขภาพให้กับเครือข่าย
  4. การพัฒนาระบบทันตสาธารณสุขให้เข้มแข็ง (System Capacity Building) รวมไปถึงระบบที่เกี่ยวข้องโดยการจัดทำแผนงาน เป้าหมาย ยุทธศาสตร์ ตลอดจนกำกับติดตามและประเมินผล เพื่อนำมาสู่การพัฒนานโยบายกฎหมายและระบบอย่างต่อเนื่องและมีคุณภาพ
 
บทบาท ภารกิจ 
     มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้ (ตามกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2552)
  1. พัฒนานโยบาย ยุทธศาสตร์และแผนงานหลัก รวมทั้งสนับสนุนการจัดทำแผนกำลังคนด้านทันตสาธารณสุขของประเทศ
  2. ศึกษา วิจัย พัฒนาและประยุกต์องค์ความรู้และเทคโนโลยี และนวัตกรรมทางด้านทันตสาธารณสุข
  3. พัฒนาและจัดทำมาตรฐาน รูปแบบ และหลักเกณฑ์การปฏิบัติด้านทันตสาธารณสุข รวมทั้ง พัฒนาระบบบริการทันตสุขภาพ ระบบบริหารจัดการและระบบสนับสนุนทรัพยากรด้านทันตสุขภาพในระดับประเทศ เพื่อตอบสนองพระราชดำริและคุ้มครองประชาชนให้เข้าถึงบริการที่จำเป็นทางทันตสุขภาพอย่างมีคุณภาพและเป็นธรรม
  4. พัฒนาระบบ กลไก และเครือข่ายการเฝ้าระวังและระบบสารสนเทศด้านทันตสาธารณสุข ตลอดจนปัญหาสิ่งแวดล้อมที่มีผลกระทบต่อทันตสุขภาพ
  5. ถ่ายทอดและพัฒนาศักยภาพ ขีดความสามารถ และการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานทันตสาธารณสุข ของหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคีเครือข่ายและชุมชน
  6. สร้างกระแสและขับเคลื่อนทางสังคมเพื่อให้ประชาชนตระหนักและสามารถดูแลทันตสุขภาพของตนเองได้อย่างเหมาะสม
  7. ประสานความร่วมมือ ติดตามและประเมินผล เพื่อการแก้ไขปัญหาด้านทันตสุขภาพกับหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รวมทั้งพัฒนาความร่วมมือระหว่างประเทศในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านทันตสาธารณสุข
  8. ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย
กลุ่มอำนวยการ
  1. บริหารจัดการทั่วไป งานช่วยอำนวยการ และงานเลขานุการของสำนัก
  2. บริหารจัดการงานสารบรรณ การรับส่งพัสดุไปรษณีย์ และเอกสารสิ่งพิมพ์
  3. บริหารจัดการงานการเงินและบัญชี รวมทั้งการควบคุม กำกับ การใช้จ่ายงบประมาณ
  4. บริหารจัดการงานพัสดุ ยานพาหนะ และอาคารสถานที่และการอนุรักษ์พลังงาน
  5. บริหารจัดการงานทรัพยากรบุคคลของสำนัก
  6. ประสานงานและให้การสนับสนุนการปฏิบัติงานของสำนัก
  7. ปฏิบัติงานอื่น ๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย
 
กลุ่มบริหารยุทธศาสตร์
  1. ศึกษา วิเคราะห์ ข้อมูลสถานการณ์และแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงด้านทันตสุขภาพ และนโยบายรัฐบาล
  2. พัฒนานโยบาย ยุทธศาสตร์งาน แผนงาน และจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายด้านทันตสาธารณสุข และแก้ไขปัญหาทันตสุขภาพในระดับพื้นที่และระดับนานาชาติ รวมทั้งจัดทำแผนปฏิบัติราชการ แผนปฏิบัติการประจำปีและแผนงบประมาณ
  3. พัฒนาระบบการวางแผนงาน/โครงการ การดำเนินงานและกำหนดเป้าหมายทันตสุขภาพที่ชัดเจนของหน่วยงานระดับสำนัก และการกำหนดและถ่ายทอดตัวชี้วัด ค่าเป้าหมายสู่กลุ่มงานและบุคคล ประเมินสถานการณ์ สภาวะทันตสุขภาพทุกกลุ่มวัย จัดทำข้อเสนอขอบเขต มาตรการและตัวบ่งชี้ของเป้าหมายการพัฒนาพฤติกรรมทันตสุขภาพประชาชนสู่การมีสุขภาพช่องปากแข็งแรง
  4. ศึกษาวิเคราะห์ วิจัย พัฒนาระบบการบริหารจัดการข้อมูลสารสนเทศที่ส่งผลต่อการพัฒนาการดำเนินงานสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันทันตสุขภาพ
  5. ควบคุม กำกับ ติดตามและประเมินผลงานด้านทันตสาธารณสุขของสำนัก รวมทั้งตรวจสอบและประสานแผนการทำงานร่วมกับหน่วยงานอื่นๆ
  6. ศึกษาวิเคราะห์ปรับปรุงระบบวิธีการ มาตรฐานการดำเนินงานตามเกณฑ์การพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ
  7. ประสานงานวิเทศสัมพันธ์ด้านทันตสาธารณสุขและสร้างความร่วมมือระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง
  8. พัฒนาการจัดการความรู้ และระบบพัฒนาทรัพยากรบุคคลด้านทันตสาธารณสุขเพื่อตอบสนองวิสัยทัศน์ ภารกิจของกรม
  9. ปฏิบัติงานอื่น ๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย
 
กลุ่มสนับสนุนวิชาการและการวิจัย
  1. พัฒนาระบบการบริหารจัดการข้อมูลสารสนเทศด้านสุขภาพช่องปาก การนำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาใช้ในการให้บริการวิชาการให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล
  2. พัฒนาคลังความรู้ งานห้องสมุด และงานบริการวิชาการอื่น
  3. ศึกษา วิเคราะห์ พัฒนาองค์ความรู้ ข้อมูลสถานการณ์ ประเมิน พยากรณ์ แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงด้านสุขภาพช่องปาก และสนับสนุนกระบวนการใช้ประโยชน์จากข้อมูลให้กับภาคีเครือข่าย
  4. พัฒนาระบบเฝ้าระวังสุขภาพช่องปากโดยเชื่อมโยงกับระบบสุขภาพระดับประเทศ
  5. จัดดทำมาตรฐาน แนวทาง คู่มือ ระบบสารสนเทศด้านสุขภาพช่องปาก
  6. ส่งเสริมการพัฒนาองค์ความรู้ การบริหารจัดการกระบวนการวิจัย เพื่อสนับสนุนงานวิชาการและพัฒนางานวิจัยของหน่วยงานและภาคีเครือข่าย
  7. ปฏิบัติงานอื่น ๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย

 

กลุ่มพัฒนาทันตสุขภาพเด็กปฐมวัยและวัยเรียน
  1. ศึกษา วิจัย พัฒนา มาตรฐาน หลักเกณฑ์ แนวทางและรูปแบบการดำเนินงานสร้างเสริมทันตสุขภาพหญิงตั้งครรภ์ เด็กปฐมวัยและวัยเรียน
  2. ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมทันตสุขภาพที่เหมาะสมกับหญิงตั้งครรภ์ เด็กปฐมวัยและวัยเรียน
  3. พัฒนาต้นแบบการจัดบริการสร้างเสริมทันตสุขภาพที่เหมาะสมกับหญิงตั้งครรภ์ เด็กปฐมวัยและวัยเรียน
  4. พัฒนาศักยภาพ สร้างการมีส่วนร่วมและถ่ายทอดองค์ความรู้ สร้างกระแสการดูแลทันตสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์ เด็กปฐมวัยและวัยเรียนแก่ภาคีเครือข่าย
  5. พัฒนาระบบเฝ้าระวังพฤติกรรม ปัจจัยสำคัญ และสถานการณ์ทันตสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์ เด็กปฐมวัยและวัยเรียน
  6. สนับสนุนให้เกิดนโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อทันตสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์ เด็กปฐมวัยและวัยเรียน
  7. พัฒนาความร่วมมือระหว่างประเทศ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านทันตสาธารณสุขในการแก้ไขปัญหาทันตสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์เด็กและเยาวชน
  8. พัฒนาต้นแบบการแก้ไขปัญหาทันตสุขภาพ ตอบสนองโครงการพระราชดำริพระบรมวงศานุวงศ์
  9. ปฏิบัติงานอื่น ๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย
 
กลุ่มพัฒนาทันตสุขภาพวัยรุ่นและปัจจัยเสี่ยง
  1. ศึกษา วิจัย พัฒนา มาตรฐาน หลักเกณฑ์ แนวทางและรูปแบบการดำเนินงานสร้างเสริมทันตสุขภาพวัยรุ่นและปัจจัยเสี่ยง
  2. จัดทำและรับรองมาตรฐานด้านปัจจัยสิ่งแวดล้อมและผลิตภัณฑ์เพื่อคุ้มครองผู้บริโภคด้านทันตสุขภาพ
  3. ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมทันตสุขภาพที่เหมาะสมกับวัยรุ่นและปัจจัยเสี่ยง
  4. พัฒนาระบบกลไกเฝ้าระวังปัจจัยสิ่งแวดล้อมที่มีผลกระทบต่อทันตสุขภาพของวัยรุ่น
  5. พัฒนาศักยภาพ สร้างการมีส่วนร่วมและถ่ายทอดองค์ความรู้ สร้างกระแสการดูแลทันตสุขภาพของวัยรุ่นและปัจจัยเสี่ยงแก่ภาคีเครือข่าย
  6. พัฒนาระบบเฝ้าระวังพฤติกรรม ปัจจัยแวดล้อม ของวัยรุ่นและปัจจัยเสี่ยง
  7. สนับสนุนให้เกิดนโยบายสาธารณะในการคุ้มครองผู้บริโภคด้านทันตสุขภาพ
  8. พัฒนาความร่วมมือระหว่างประเทศ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านทันตสาธารณสุขในการแก้ไขปัญหาทันตสุขภาพของวัยรุ่นและปัจจัยเสี่ยง
  9. ปฏิบัติงานอื่น ๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย
 
กลุ่มพัฒนาทันตสุขภาพวัยทำงานและผู้สูงอายุ
  1. ศึกษา วิจัย พัฒนา มาตรฐาน หลักเกณฑ์ แนวทางและรูปแบบการดำเนินงานสร้างเสริมทันตสุขภาพวัยทำงานและผู้สูงอายุ
  2. ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมทันตสุขภาพที่เหมาะสมกับวัยทำงานและผู้สูงอายุ
  3. พัฒนาต้นแบบการจัดบริการสร้างเสริมทันตสุขภาพที่เหมาะสมกับ วัยทำงานและผู้สูงอายุ
  4. พัฒนาศักยภาพ สร้างการมีส่วนร่วมและถ่ายทอดองค์ความรู้ สร้างกระแสการดูแลทันตสุขภาพของวัยทำงานและผู้สูงอายุแก่ภาคีเครือข่าย
  5. พัฒนาระบบเฝ้าระวังพฤติกรรม ปัจจัยสำคัญ และสถานการณ์ทันตสุขภาพของ วัยทำงานและผู้สูงอายุ
  6. สนับสนุนให้เกิดนโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อทันตสุขภาพของวัยทำงานและผู้สูงอายุ
  7. พัฒนาความร่วมมือระหว่างประเทศ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านทันตสาธารณสุขในการแก้ไขปัญหาทันตสุขภาพของวัยทำงานและผู้สูงอายุ
  8. พัฒนาต้นแบบการจัดบริการสร้างเสริมสุขภาพทันตสุขภาพในคลินิกทันตกรรม
  9. พัฒนาต้นแบบการแก้ไขปัญหาทันตสุขภาพ ตอบสนองโครงการพระราชดำริพระบรมวงศานุวงศ์
  10. ปฏิบัติงานอื่น ๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย
 
กลุ่มพัฒนาระบบทันตสาธารณสุข
  1. ศึกษาวิจัย และพัฒนาองค์ความรู้และเทคโนโลยี แนวทางการดำเนินงาน คุณภาพและมาตรฐาน ด้านระบบกำลังคนสุขภาพช่องปาก ระบบส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคในช่องปาก ระบบบริการสุขภาพช่องปาก และเศรษฐศาสตร์สุขภาพช่องปาก
  2. จัดทำข้อเสนอเพื่อกำหนดนโยบาย ยุทธศาสตร์ และแผนงานหลักด้านระบบกำลังคนสุขภาพช่องปาก ระบบส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคในช่องปาก
  3. สร้างการมีส่วนร่วมในการพัฒนาศักยภาพทันตบุคลากรแก่ภาคเครือข่าย
  4. พัฒนาระบบการจัดการความรู้ด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ เผยแพร่องค์ความรู้ด้านสุขภาพช่องปาก
  5. ศึกษา วิจัย พัฒนา ประยุกต์ใช้เทคโนโลยี และนวัตกรรมทันตสุขภาพที่เหมาะสม ดำเนินงานสร้างเสริมทันตสุขภาพกลุ่มพิเศษ/กลุ่มเฉพาะ
  6. ปฏิบัติงานอื่น ๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย
 
ศูนย์ทันตสาธารณสุขระหว่างประเทศ
  1. พัฒนากลไกการสนับสนุนการจัดบริการสุขภาพช่องปาก ได้แก่ การวางแผน/โครงการจัดบริการส่งเสริมป้องกันจากข้อมูลเชิงประจักษ์ในพื้นที่ การสนับสนุนให้เกิดการประเมินผลการดำเนินงานการจัดบริการสุขภาพช่องปากในส่วนภูมิภาค การพัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศ เป็นต้น
  2. จัดทำมาตรฐาน หลักเกณฑ์ แนวทางและคู่มือปฏิบัติงานสำหรับการบริหารจัดการและการจัดบริการสุขภาพช่องปาก จัดบริการบูรณาการในหน่วยบริการ การทำงานเชิงรุกในชุมชน
  3. พัฒนาภาคีเครือข่ายในการร่วมจัดบริการสุขภาพช่องปาก เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงบริการอย่างทั่วถึงและเป็นธรรม
  4. ให้คำปรึกษาและข้อเสนอแนะด้านระบบสุขภาพช่องปากแก่ผู้บังคับบัญชา ทันตบุคลากรและบุคลากรสาธารณสุขทุกระดับ รวมทั้งภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง
  5. ปฏิบัติงานอื่น ๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย