คุณกำลังมองหาอะไร?

ประวัติความเป็นมาของสำนักทันตสาธารณสุข

     งานให้บริการทันตสาธารณสุขในยุคต้นๆ อยู่ในแผนกสุขาภิบาลโรงเรียน สังกัดกระทรวงธรรมการ มีหน้าที่ให้บริการทันตกรรมแก่เด็กนักเรียนจน พ.ศ.2466 จึงเริ่มให้บริการแก่ประชาชนทั่วไป เมื่อสภากาชาดไทยขอความร่วมมือมา ต่อเมื่อมีการสถาปนากระทรวงสาธารณสุขใน พ.ศ. 2485 งานทันตกรรมจึงอยู่ภายใต้การบริหารงานของกองอนามัยโรงเรียนกระทรวงสาธารณสุข หรือกรมอนามัยในระยะต่อมา เมื่อมีการปรับปรุงส่วนราชการกระทรวงสาธารณสุขใน พ.ศ. 2515 งานทันตกรรมจึงยกฐานะขึ้นเป็นกองทันตสาธารณสุข สังกัดกรมการแพทย์และอนามัยจนถึง พ.ศ. 2517 มีการปรับปรุงโครงสร้างการบริหารราชการ กระทรวงสาธารณสุขอีกครั้งหนึ่ง กองทันตสาธารณสุขจึงโอนมาสังกัดกรมอนามัย

แผนงานทันตสาธารณสุข
     แผนงานทันตสาธารณสุขได้รับการบรรจุเข้าในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเป็นครั้งแรกช่วง พ.ศ. 2520-2524 หรือในแผนฉบบที่ 4 เป็นต้นมาโครงการและกิจกรรมในระยะนั้นคือ ให้บริการทันตกรรมแก่นักเรียนและข้าราชการกระทรวงสาธารณสุข อบรมผู้ช่วยเจ้าหน้าที่อนามัยออก ให้บริการทันตกรรมป้องกันแก่เด็กนักเรียนประถมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานครด้วยการควบคุมดูแลการแปรงฟันหลังอาหารกลางวันและให้บริการอมน้ำยาฟลูออไรด์ทุก2อาทิตย์และให้บริการทันตสุขศึกษาแก่นักเรียนนอกจากนี้ได้ประสานความร่วมมือกับกองอนามัยโรงเรียนจัดการอบรมเจ้าหน้าที่ สาธารณสุขระดับผู้บริหาร และผู้ปฏิบัติการ รวมถึงอบรมครูใหญ่ และครูอนามัยให้ดำเนินงานทันตสุขภาพในโรงเรียน และในชุมชน 72 จังหวัดทั่วประเทศ

ผลงานดีเด่นที่เป็นประโยชน์แก่ประชาชน
     ต่อมาในระยะยาวคือการกระจายทันตแพทย์ไปสู่ชนบทโดยให้ประจำในโรงพยาบาลและให้ปฏิบัติราชการที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมีการ แต่งตั้งคณะกรรมการทันตสาธารณสุขระดับจังหวัดมีนายแพพทย์สาธารณสุขจังหวัดเป็นประธานหัวหน้าฝ่ายต่าง ๆ เป็นกรรมการและฝ่ายทันตสาธารณ สุขเป็นเลขานุการ ทำให้งานให้บริการทันตสาธารณสุขตั้งแต่การส่งเสริมป้องกันและรักษาเป็นไปอย่างมีระบบแบบแผนนอกจากนี้ได้มีการผลิตโมเดล ฟันชนิดต่างๆขึ้นโดยใช้วัสดุที่มีในประเทศไม่ต้องสั่งซื้อจากต่างประเทศเป็นการประหยัดงบประมาณของประเทศคิดเป็นมูลค่าหลายสิบล้านและกรม อนามัยยังสามารถสนับสนุนโมเดลฟันเหล่านี้ให้แก่หน่วยงานทันตสาธารณสุขของทุกโรงพยาบาลอำเภอ โรงเรียนประถมศึกษาทั้งประเทศและหน่วย งานที่สนับสนุนการดำเนินงานทันตสุขภาพ ทำให้ประชาชนเป็นจำนวนมากแม้ในถิ่นที่ห่างไกลได้รับประโยชน์จากสื่อนำความรู้ดังกล่าว นับแต่แผน พัฒนาฯ ฉบับที่ 4 เป็นต้นมางานทันตสาธารณสุขของกรมอนามัยได้รับการพัฒนามาเป็นลำดับ เพื่อมุ่งแก้ปัญหาทันตสาธารณสุขของประชาชนชาว ไทยทุกกลุ่มอายุผลงานสำคัญที่ผ่านมาได้แก่

     1. การจัดทำเป้าหมายทันตสุขภาพ
          ในพ.ศ.2528สหพันธ์ทันตแพทยสมาคมทั่วโลกได้ร่วมกันกำหนดเป้าหมายสากลด้านทันตสุขภาพขึ้นกรมอนามัยจึงได้จัดการประชุมสัมมนาคณะผูู้้เชี่ยวชาญด้านทันตสาธารณสุขจากทั่วประเทศเพื่อจัดทำเป้าหมายทางทันตสุขภาพให้เหมาะสมกับประชาชนคนไทยเป้าหมายดังกล่าวนับเป็นหลักในการคิดแก้ไขปัญหาทันตสาธารณสุขของประเทศในระยะต่อมาสาระสำคัญที่กำหนดไว้คือ
          1) ร้อยละ 30 ของเด็กก่อนวัยเรียนต้องไม่มีฟันผุ
          2) เด็กอายุ 12 ปี มีฟันผุได้ไม่เกินคนละ 1.5 ซี่ และ
          3) ร้อยละ 75 ของกลุ่มอายุ 18 ปี ต้องมีฟันที่สามารถใช้งานได้อย่างน้อย 28 ซี่

     2. การจัดหน่วยทันตกรรมเคลื่อนที่
          วันที่ 1 สิงหาคม 2527 เป็นวันแรกที่เกิดหน่วยทันตกรรมเคลื่อนที่ภายใต้ความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทยและรัฐบาลไทยและรัฐบาลเยอรมันออกให้บริการอุดฟัน ขูดหินน้ำลาย ถอนฟัน และให้ทันตสุขศึกษาแก่ประชาชนเขตชายแดนไทย-กัมพูชา ในจังหวัดอุบลราชธานี ศรีสะเกษ และสุรินทร์ กรมอนามัยได้ออกให้บริการ เป้าหมาย 4800 หมู่บ้าน มีแระชาชนได้รับบริการ 96,000 คน และได้รับความรู้ 480,000 คน โครงการเฝ้าระวังและส่งเสริมทันตสุขภาพเด็กนักเรียนในนักเรียนประถมศึกษาทั่วประเทศ กระทรวงสาธารณสุข และกระทรวงศึกษาธิการได้ร่วมมือกันจัดทำโครงการดังกล่าวในพ.ศ.2531จนถึงปัจจุบันนี้สามารถให้บริการครอบคลุม เด็กนักเรียนประถมศึกษาทั่วประเทศ 5,000,000 คน และครอบคลุมโรงเรียน 30,000 แห่ง กิจกรรมสำคัญของโครงการได้มอบให้ครูผ่านการ อบรมแล้วเป็นผู้ตรวจสุขภาพช่องปากเด็กนักเรียน และบันทึกลงในระเบียนรายงาน ส่วนเจ้าหน้าที่สถานีอนามัยจะเข้าไปเก็บข้อมูลให้ คำปรึกษา แนะนำและบำบัดรักษาตามที่ได้รับการอบรม

     3. โครงการเฝ้าอบรมเจ้าหน้าที่สถานีอนามัยให้บริการขูดหินน้ำลาย
          กรมอนามัย สนับสนุนการจัดบริการทันตกรรมระดับสถานีอนามัย โดยเริ่มที่สถานีอนามัยทุกแห่งในโครงการอีสานเขียว ใน 17 จังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือต่อมาได้ขยายการสนับสนุนครอบคลุมสถานีอนามัย 4,000 แห่งในปัจจุบันโดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุขประจำสถานีอนามัย ที่มีเครื่องขูดหินปูนไฟฟ้า จะได้รับการฝึกอบรมให้สามารถใช้เครื่องมือให้การบำบัดรักษาได้

     4. โครงการประกวดโรงเรียนดีเด่นเฝ้าระวังทันตสุขภาพ
          กรมอนามัยได้จัดทำโครงการดังกล่าวด้วยความร่วมมือจากสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด และภาคเอกชน คือบริษัทคอลเกต ปาล์มโอลีฟ (ประเทศไทย) จำกัด เพื่อกระตุ้นให้มีการเฝ้าระวังและส่งเสริมทันตสุขภาพอย่างเป็นระบบสมบูรณ์ ในโรงเรียนประถมศึกษา นอกจากนี้โรงเรียนดีเด่นจะเป็นแบบอย่างที่ดีแก่โรงเรียนอื่น ๆและเป็นการกระตุ้นให้ประชาชนกับผู้เกี่ยวข้องมีเจตนคติที่ดีพร้อมร่วมมือแก้ไขปัญหาทันต-สาธารณสุขชุมชน คุณสมบัติของโรงเรียนดีเด่น คือ ครูจะต้องตรวจสุขภาพช่องปากนักเรียนตามระบบเฝ้าระวัง ปีละ 2 ครั้ง และบันทึกผลการตรวจในแบบ ทส.001 และ ทส.002 นักเรียนต้องได้รับบริการทันตกรรมแปรงฟันหลังอาหารกลางวันทุกวัน อมน้ำยาฟลูออไรด์อย่างสม่ำเสมอและได้รับการส่งต่อไปยังสถานพยาบาลเพื่อรับการรักษาในรายที่มีปัญหา โรงเรียนที่ชนะเลิศระดับประเทศอันดับ 1 จะได้ถ้วยพระราชทานของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี พร้อมเงินรางวัล 30,000 บาท และป้ายประกาศถาวร

     5. โครงการเฝ้าระวังและส่งเสริมทันตสุขภาพเด็กนักเรียนโรงเรียนสังกัดเทศบาลและเมืองพัทยา
          กรมอนามัย ได้ประสานงานกับกรมปกครองจัดทำโครงการฯ เริ่ม พ.ศ. 2536 และได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจากสำนักบริหารการศึกษา ท้องถิ่น สำนักบริหารราชการส่วนท้องถิ่น เทศมนตรีฝ่ายการศึกษา ทันตแพทย์และทันตาภิบาลจากเทศบาลต่างๆ 50 เทศบาล เข้าร่วมโครงการ ซึ่งปัจจุบันนี้สามารถดำเนินการครอบคลุมโรงเรียน 400 แห่ง โครงการปีรณรงค์ทันตสาธารณสุขแห่งโลกของประเทศไทย พ.ศ. 2537 องค์การอนามัยโลกได้ประกาศให้ปี 2537 เป็นปีทันตสาธารณสุขแห่งโลก และเพื่อให้สอดคล้องกับการประกาศขององค์การอนามัยโลก กรมอนามัยจึงได้ จัดทำโครงการปีรณรงค์ฯ ขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ให้ประชาชนเดิดพฤติกรรมการแปรงฟันที่ถูกต้องและสม่ำเสมอทุกวัน มีการ จัดกิจกรรมทั้งในส่วนกลางและในส่วนภูมิภาคอย่างต่อเนื่องตลอดปี ได้แก่กิจกรรมรณรงค์ทันตสาธารณสุขทั่วประเทศ ประทับสัญลักษณ์ปีรณรงค์แปรงฟันหลังอาหารกลางวันพร้อมกันทั่วประเทศ ในวันที่ 14 กันยายน 2537 และจัดการประชุมนานาชาติ เรื่อง The Promotion of Lifestyles Conducive to Oral Health