คุณกำลังมองหาอะไร?

ระชุมติดตามความก้าวหน้าการจัดทำร่างการขับเคลื่อนงานด้านสุขภาพช่องปากตามแผนปฏิบัติการด้านสุขภาพช่องปากโลก

กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ

25.12.2567
44
0
แชร์
25
ธันวาคม
2567

วันนี้ 25 ธันวาคม 2567 นายแพทย์ ดร. ปองพล วรปาณิ รองอธิบดีกรมอนามัย ให้เกียรติเป็นประธานในการประชุมติดตามความก้าวหน้าการจัดทำร่างการขับเคลื่อนงานด้านสุขภาพช่องปากตามแผนปฏิบัติการด้านสุขภาพช่องปากโลก ณ ห้องประชุมสำนักทันตสาธารณสุข ชั้น 3 อาคาร 5 กรมอนามัย โดยมีทันตแพทย์ดำรง ธำรงเลาหะพันธุ์ ผู้อำนวยการสำนักทันตสาธารณสุขเป็นผู้นำเสนอร่างมาตรการขับเคลื่อนระบบสุขภาพช่องปากประเทศไทยภายใต้ภารกิจกรมอนามัยตามคำมั่นของประเทศไทย ที่สอดคล้องกับแผนปฏิบัติการสุขภาพช่องปากโลก(Global Oral Health Action Plan 2023-2030) ประกอบด้วย 6 ประเด็นขับเคลื่อน ได้แก่
1. จัดตั้งคณะกรรมการสุขภาพช่องปากแห่งชาติ และปรับปรุงแผนปฏิบัติการสุขภาพช่องปากระดับชาติ
2. พัฒนามาตรการส่งเสริมป้องกันโรคในช่องปาก จัดการปัจจัยกำหนดสุขภาพ และปัจจัยร่วมโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง
3. พัฒนาชุดบริการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรคในช่องปาก และการให้บริการรักษาทางทันตกรรมในกลุ่มเปราะบาง
และผู้ป่วยที่มีความต้องการเป็นพิเศษ
4. พัฒนากลไกสังคมฟันดี ภาคีเข้มแข็ง สนับสนุนภาคประชาสังคมให้เกิด Social Engagement and Strengthening
5. พัฒนาดิจิทัลแพลตฟอร์มที่เหมาะสมกับทุกคน
6. พัฒนากลไก การวิจัย ด้านทันตสาธารณสุข และสุขภาพซ่องปากระดับประชากร

ทั้งนี้ นายแพทย์ ดร. ปองพล วราณิ รองอธิบดีกรมอนามัย ได้ให้ข้อเสนอแนะต่อมาตรการขับเคลื่อนทั้ง 6 ประเด็น
โดยมุ่งเน้นไปที่การวางกลไกอภิบาลระบบสุขภาพช่องปากของประเทศ ที่เห็นควรให้มีการปรับปรุงแผนยุทธศาสตร์สุขภาพช่องปากประเทศไทย และมีคณะกรรมการระดับชาติกำกับอีกทั้งยังให้ความสำคัญกับการเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงบริการทันตกรรมที่ครอบคลุมโดยเฉพาะในกลุ่มเปราะบางและผู้ที่มีความต้องการเป็นพิเศษ อาทิ ผู้พิการ ผู้สูงอายุสมองเสื่อม ผู้ป่วยติดเตียง กลุ่มชาติพันธุ์และชายขอบ ตลอดจนกลุ่มผู้อาศัยในชุมชนแออัดเขตเมือง ให้ได้รับบริการทันตกรรมที่จำเป็นอย่างเท่าเทียม ทั้งนี้ยังให้ความสำคัญกับการนำเทคโนโลยีทันตกรรมทางไกลผ่านดิจิทัลแพลตฟอร์ม “รักยิ้ม”  ที่กรมอนามัยได้พัฒนาและมุ่งหวังให้เป็นดิจิทัลแพลตฟอร์มด้านสุขภาพช่องปากที่เข้าถึงได้สำหรับประชาชนทุกคนมาเป็นเครื่องมือในการยกระดับบริการทันตกรรมและเพิ่มขีดความสามารถในการเข้าถึงและมุ่งหวังให้ประชาชนได้ใช้ประโยชน์ทั้งด้านการคัดกรองสุขภาพช่องปาก พัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพช่องปากปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่จะนำไปสู่การมีสุขภาพช่องปากที่ดี อันจะส่งผลให้สุขภาพองค์รวมดีตามมาอย่างน้อยร้อยละ 80 ในปี ค.ศ.2030

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

กรมอนามัย
เรามีสาระสุขภาพดีๆ
ส่งตรงถึงคุณ
ทุกวัน